ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสุรินทร์

     จังหวัดสุรินทร์ได้รับการสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ว่า พื้นที่อันเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์มีชุมชนอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว พบหลักฐานการอยู่ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะตอนปลาย ซึ่งมีการใช้เครื่องมือเหล็กแล้ว ซึ่งยังปรากฏให้เห็นชุมชนโบราณกว่า 59 แห่ง จากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกับพื้นที่ที่เคยเป็นอาณาจักรขอมโบราณ ทำให้ชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ได้รับวัฒนธรรมขอมมาโดยตลอดตั้งแต่ในช่วงพุทธ ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไม่ปรากฏหลักฐานเด่นชัดที่แสดงถึงการอยู่อาศัยของชุมชนในสมัยต่อมา 

   สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2260 จึงปรากฏร่องรอยขึ้นอีกครั้งหนึ่งในพงศาวดารอีสาน ชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า ส่วยหรือกูย ซึ่งอาศัยอยู่แถบเมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนของไทย และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งาน พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวา โดยได้แยกย้ายกันไปตั้งชุมชนที่เมืองลีง(อ.จอมพระ) บ้านโคกลำดวน (อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ) บ้านอัจจะปะนึ่ง (อ.สังขะ) และบ้านกุดปะไท (อ.ศีขรภูมิ)

   ในปี พ.ศ. 2303 หัวหน้าชาวกูยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้ช่วยขุนนาง  จากราชสำนักคล้องช้างเผือกแตกโรง มาจากกรุงศรีอยุธยากลับไปได้ ต่อมาได้ส่งส่วยของป่าและรับราชการกับราชสำนัก จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และยกบ้านที่ปกครองขึ้นเป็นเมืองต่อมา

   ในปี พ.ศ. 2306 หลวงสุรินทร์ภักดีหรือเชียงปุม หัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมือง พิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที มาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2 ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัยต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดี ได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามริ นทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทายเป็นเมืองประทายสมันต์และเลื่อน บรรดาศักดิ์หลวงสุรินทร์ภักดีเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวางให้ เป็นเจ้าเมืองปกครอง

คำขวัญประจำจังหวัด : สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม

ความหมายของคำขวัญ
ถิ่นช้างใหญ่ หมายถึง สุรินทร์มีศูนย์คชศึกษามีช้างอยู่มาก เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
ผ้าไหมงาม หมายถึง สุรินทร์มีการทอผ้าไหมที่ขึ้นชื่อในเรื่อการทอผ้าไหมปักทอง ที่สวยงามมากติด 1 ใน 10 เมืองทอผ้าไหมในประเทศไทยที่บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์
ประคำสวย หมายถึง สุรินทร์มีการประคำเงินขึ้นชื่อ ที่อำเภอเขวาสินรินทร์
ร่ำรวยปราสาท หมายถึง สุรินทร์ มีปราสาทกระจายอยู่มากที่สุดในประเทศไทย และมีปราสาทที่อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยคือปราสาทภูมิโปน
ผักกาดหวาน หมายถึง สุรินทร์มีการทำผักกาดดองที่หวานอร่อยขึ้นชื่อ
ข้าวสารหอม หมายถึง สุรินทร์มีข้าวสารที่ปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และอร่อยหอมที่สุดในโลก
งามพร้อมวัฒนธรรม หมายถึง ดูจากการเล่นสงกราณต์ของชาวสุรินทร์และงานประเพณีมากมาย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

คำขวัญประจำจังหวัด : สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม

ถิ่นช้างใหญ่ หมายถึง มีคชอาณาจักร และศูนย์คชศึกษาซึ่งมีช้างอยู่มาก เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด

ผ้าไหมงาม หมายถึง มีการทอผ้าไหมที่ขึ้นชื่อในเรื่องการทอผ้าไหมปักทอง ที่สวยงามมากติด 1 ใน 10 เมืองทอผ้าไหมในประเทศไทยที่บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์

ประคำสวย หมายถึง มีการประคำเงินขึ้นชื่อ ที่อำเภอเขวาสินรินทร์

ร่ำรวยปราสาท หมายถึง มีปราสาทกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก และมีที่อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย หนึ่งในนั้น คือ ปราสาทภูมิโปน

ผักกาดหวาน หมายถึง มีการทำผักกาดดองที่หวานอร่อยขึ้นชื่อ

ข้าวสารหอม หมายถึง มีข้าวสารที่ปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และหอมอร่อยที่สุดในโลก

งามพร้อมวัฒนธรรม หมายถึง ดูจากการเล่นสงกรานต์ของชาวสุรินทร์และงานประเพณีมากมาย

ตราประจำจังหวัด : พระอินทร์ทรงประทับช้างเอราวัณอยู่หน้าปราสาทหินศีขรภูมิ (เดิมเรียกว่าปราสาทหินบ้านระแงง)

พระอินทร์ หมายถึง เทพเจ้าผู้ทรงเก่งกาจสามารถ

ช้าง หมายถึง เมืองที่มีช้างอยู่มากมาย

ปราสาทหิน คือ ปราสาทศีขรภูมิ

ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกันเกรา

ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกันเกรา

พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : มะค่าแต้

สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลานวลจันทร์น้ำจืด

ธงประจำจังหวัด : ธงสีเขียว-เหลือง-แสด ตรงกลางมีตราประจำจังหวัดติดอยู่

ตราประจำจังหวัดสุรินทร์

สภาพทางเศรษฐกิจ
     จากรายงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2553 จังหวัดสุรินทร์ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ตามราคาประจำปี 55,529 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์ต่อหัว (Per capita GPP) 38,681 บาท จัดเป็นอันดับที่ 73 ของประเทศ และเป็นอันดับที่ 16 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

     สำหรับอาชีพของประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ยังคงประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม มีการทำนาข้าวเจ้า ทำสวน และเพาะปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา อาชีพที่สำคัญรองลงมาคือ การเลี้ยงไหม

การคมนาคม
     จังหวัดสุรินทร์ เป็นเมืองหลักของภาคอีสานตอนล่าง เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก

ทางรถยนต์
     การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดสุรินทร์ใช้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ แยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 (ตรงแยกอำเภอปราสาท) จนถึงจังหวัดสุรินทร์

การเดินทางในตัวจังหวัด
     การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดสุรินทร์ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภอชุมพลบุรี ระยะทาง 91 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 2 ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอเขวาสินรินทร์ ระยะทาง 14 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 30 นาที โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองสุรินทร์) ไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ เรียงจากใกล้ไปไกล ดังนี้

อำเภอเขวาสินรินทร์ 14 กิโลเมตร
อำเภอจอมพระ 25 กิโลเมตร
อำเภอลำดวน 26 กิโลเมตร
อำเภอปราสาท 28 กิโลเมตร
อำเภอศีขรภูมิ 34 กิโลเมตร
อำเภอสังขะ 51 กิโลเมตร
อำเภอสนม 51 กิโลเมตร
อำเภอท่าตูม 52 กิโลเมตร
อำเภอสำโรงทาบ 54 กิโลเมตร
อำเภอกาบเชิง 58 กิโลเมตร
อำเภอศรีณรงค์ 64 กิโลเมตร
อำเภอรัตนบุรี 70 กิโลเมตร
อำเภอบัวเชด 70 กิโลเมตร
อำเภอโนนนารายณ์ 75 กิโลเมตร
อำเภอพนมดงรัก 78 กิโลเมตร
อำเภอชุมพลบุรี 91 กิโลเมตร

     สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถเมล์ชมพู ตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง/สามล้อปั่น บริการในจังหวัดสุรินทร์ มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่อจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ ดังนี้คือ
     สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์
     สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท
     สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสังขะ
     สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอรัตนบุรี

ทางรถไฟ
     การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ-สุรินทร์ โดยผ่านจังหวัดปทุมธานี อยุธยา สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ จนถึงสุรินทร์ เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพ-สุรินทร์ โดยมีตารางการเดินรถไฟดังนี้

ทางอากาศ
     การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดสุรินทร์มีท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี ซึ่งในอดีตได้เปิดทำการบินโดยบริษัท บางกอกแอร์เวย์-แอร์อันดามัน- พีบีแอร์ซึ่งเมื่อปลายปี 2552 สายการบินพีบีแอร์จะเปิดทำการบิน แต่เนื่องจากทางบริษัทประสบปัญหาทางหารเงินจึงได้ปิดกิจการไปก่อน จึงไม่สมารถทำการบินได้ แต่ว่าในอนาคตนี้น่าจะได้ทำการบินอีกครั้ง และได้ปรุบปรุงสนามบินทุกอย่าง และในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2554 ได้มีสายการบิน ไทย รีเจียนัล แอร์ไลน์ ได้ทำการบินทุกวัน วันละ 2 เที่ยว

ประชากร
     ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554  จังหวัดสุรินทร์มีประชากรทั้งสิ้น 1,380,399 คน แยกเป็นชาย 690,644 คน หญิง 689,755 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 170 คน/ตร.กม. มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 10 ของประเทศไทย และมีความหนาแน่นเฉลี่ยเป็นลำดับที่ 18 ของประเทศไทย

ชาวไทยเขมร
     มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี รวมไปถึง ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และ นครราชสีมาบางพื้นที่ มีภาษาพูดและอักษรเป็นของตนเอง ภาษาเขมรป่าดงเหมือนภาษาเขมรในกัมพูชา แต่เสียงเพี้ยนกันอยู่บ้าง มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นของตนเอง เขมรป่าดงแต่เดิมนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ผสมกับศาสนาพราหมณ์ และเทวนิยมดั้งเดิม

ชาวไทยกูย
     กูย (แปลว่า คน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ “ข่า” อีกกลุ่มหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายชนเผ่าเขมร ส่วนใหญ่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์บางส่วน กูยไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทราบเพียงว่า แต่เดิมอยู่ในกัมพูชา นิยมพูดภาษาเป็น 2 กลุ่ม คือ กูยลาว อยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษตอนบน ซึ่งพูดภาษากูยโดยมีคำภาษาลาวปนอยู่ด้วยบางคำ และกูยเขมร อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษตอนล่าง และอุบลราชธานีตอนล่าง ซึ่งพูดภาษากูยโดยมีคำภาษาเขมรปนอยู่ด้วย ชาวไทยกูย อาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดที่อำเภอ ศรีขรภูมิ สำโรงทาบ จอมพระ สังขะ บัวเชด ศรีณรงค์ สนม ท่าตูม บางส่วนของอำเภอเมือง เขวาสินรินทร์ และกาบเชิง

ชาวไทยลาว
     จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสุรินทร์ จึงมีเชื้อสายไทยลาวเหมือนกับหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยได้ใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่เมือนกันกับชาวไทยลาวโดยทั่วไป แต่ก็จะมีอยู่ที่แตกต่างในเรื่องของภาษาบ้างในแต่ละท้องถิ่น

ชาวไทยจีน
     ชาวจีนส่วนใหญ่ที่อพยพเข้ามาก่อตัวเป็นชุมชนขึ้นในจังหวัดสุรินทร์นั้น สาเหตุหลัก ๆ มาจากปัญหาการลี้ภัยสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน นับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติประชาธิปไตยสมัย ดร.ซุนยัดเซ็น การปฏิวัติคอมมิวนิสต์นำโดยเหมา เจ๋อ ตง และสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นบุกจีน ที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 54 ปี ในระหว่าง พ.ศ. 2438 – 2492 ทำให้ประชาชนเดือดร้อนลำเค็ญ โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวจีนในจังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ได้อพยพลี้ภัยเข้ามายังเมืองไทยเป็นจำนวนมาก สายหนึ่งมาทางเรือ ขึ้นฝั่งที่เมืองบางกอก อีกสายหนึ่งผ่านเข้ามาทางเวียดนามและลาว ชุมชนชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสุรินทร์อาจแบ่งออกเป็นสองช่วงใหญ่ ๆ ได้แก่ ก่อนการสร้างทางรถไฟผ่านเมืองสุรินทร์ และหลังจากทางรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์แล้ว