ตั้งอยู่ในตำบลเฉนียง เป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของสุรินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการจัดแบ่งอาคารจัดแสดงเป็น 4 อาคาร แต่ละอาคารเชื่อมต่อถึงกัน
ตั้งอยู่ในตำบลเฉนียง เป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของสุรินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการจัดแบ่งอาคารจัดแสดงเป็น 4 อาคาร แต่ละอาคารเชื่อมต่อถึงกัน อาคารที่หนึ่งเป็นโถงทางเข้าและทางเดิน อาคารที่สองเป็นส่วนการศึกษา ประกอบด้วยห้องประชุม ห้องกิจกรรม ห้องรับรอง ห้องสมุด อาคารที่สามเป็นอาคารจัดแสดงและสำนักงาน ประกอบด้วยห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ และอาคารที่สี่เป็นคลังพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยห้องคลังโบราณวัตถุ ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์และสงวนรักษา โดยแยกเป็นนิทรรศการแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ออกเป็น 5 เรื่อง คือ - ธรรมชาติวิทยา ในส่วนนี้จัดแสดงเรื่องกายภาพของจังหวัดสุรินทร์ เนื้อหาประกอบด้วยสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องข้าวและการทำนาด้วย - ประวัติศาสตร์โบราณคดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้คน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยวัฒนธรรมทวารวดี สมัยวัฒนธรรมขอม สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง-อยุธยา โดยการจัดแสดงจำลองวิถีชีวิตและพิธีกรรมต่าง ๆ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดสุรินทร์ - ประวัติศาสตร์เมือง นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากชาวกูยช่วยจับช้างเผือกที่หลุดมาจากกรุงศรีอยุธยาและได้รับความดีความชอบตั้งเป็นบ้านเมือง การปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตย ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา ในการจัดแสดงการจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรก ๆ เป็นต้น - ชาติพันธุ์วิทยา กล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ ที่ประกอบด้วยชนสี่กลุ่ม ได้แก่ ชาวกูย ชาวเขมร ชาวลาว และชาวไทยโคราช ความเป็นมาและการก่อร่างสร้างเมืองของจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมืองจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และเรื่อยมาจนปัจจุบัน - มรดกดีเด่นประจำจังหวัด กล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงินและการทอผ้าไหม การแสดงศิลปะพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงเรือมอันเร การละเล่นเจรียง รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกันตรึม และการเลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก และมีฉากจำลองบรรยากาศหมู่บ้านเลี้ยงช้างในอดีต พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดวันพุธ-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์-อังคาร และวันนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00-16.00 น. สอบถามข้อมูล โทร. 0 4451 3274
วันเวลาทำการ
วันพุธ
09:00 น. -16:00 น.
วันพฤหัสบดี
09:00 น. -16:00 น.
วันศุกร์
09:00 น. -16:00 น.
วันเสาร์
09:00 น. -16:00 น.
วันอาทิตย์
09:00 น. -16:00 น.
หมายเหตุเวลาทำการ: เปิด วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.00 น. ปิด วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
คุณยังไม่ได้ลงชื่อเข้าใช้งานระบบ โปรดลงชื่อเข้าใช้งานระบบหากต้องการแสดงความคิดเห็น แชท หรือรีวิว หากคุณยังไม่ได้สมัครสมาชิก สามารถสมัครสมาชิกที่ ปุ่มด้านล่างค่ะ